Linux

Web Hosting

"เช่า Web Hosting เหมือนกับซื้อหวย" Mark @ Isiriya.com on Web Hosting มองหา Web Hosting ที่ถูกใจสักทีนี่ลำบากเหมือนกัน เพราะต้องไปเช่าอาศัยเขาอยู่ ไม่เหมือนบ้านเองแต่ในเมื่อไม่มีปัญญาสร้างบ้านเองก็จำเป็นต้องเช่า ไอ้ตัวผมเองก็ชอบเล่นซะด้วยดู Web Hosting ในไทยแล้วไม่ค่อยถูกใจเอาเสียเลยเนื้อที่เท่าแมวดิ้นตายราคาแพงโรงแรมชั้นหนึ่งแต่ก็ได้เรื่องความเร็วที่มันรวดเร็วทันใจ แต่พอไปดูของฝรั่งเขาเนื้อที่ให้มานี้สร้างวิมานได้หลายหลังเลยทีเดียว แรกเริ่มเมื่อปีที่แล้วก็ไปจับจองของ http://www.netfirms.com เนื้อที่ 20 G ราคา $9.95/m ตอนนั้นก็หรูมากตัดใจเรื่องความเร็วไปซบอกฝรั่ง แต่เมื่อเอาเข้าจริง ๆ นอกจากความเร็วยังมีอุปสรรคอีกอย่างคือการปรับแต่งที่ค่อนข้างจำกัดแต่ก็ดีหลายเรื่องนะ แต่ก็ไม่ถูกใจผมอีกจนได้เลยทิ้งให้รกร้างไว้นานทีเดียว ออ!! แต่ก็มี domain อื่นใช้งานอยู่นะครับไม่ได้ทิ้งทีเดียวดูแลหลายโดเมนอุ ๆ จนเจ้านุกน้อง (http://www.sumrit.com) ที่ทำงาน ไปค้นเจอดินแดนใหม่ ดินแดนแห่งความหลังนั้นคือ http://www.servage.net ที่นี้ค่อนข้างใจป้ำตั้งแต่เรื่องเนื้อที่และราคาตอนที่สมัคร 75 G ราคา $7.5/m ช่วงนี้ใกล้หมดจาก Netfirms.com ก็เลยลองมาสมัครที่ Servage.net ก็พบกับความอลังการจริง ๆ ครับ (ตัดความเร็วออกไป) อะไรหลาย ๆ อย่างไม่จำกัดเช่น domain, subdomain, email, ftp account, Full DNS ,etcs อ้อและก็ 1000 Mysqls ด้วยและอื่น ๆ อีกหลายอย่างยกเว้น Shell account ไม่มีให้ แต่ของ Netfirms.
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

กำลังจะจบ LPIC-1

ผู้ร่วมอบรม LPIC-1 เกือบเสร็จแล้วเย้ ๆ หลังจากอบรมทรหดมาสองอาทิตย์นั่งรถตู้ มธ. รังสิต – อนุสาวรีย์ ไปกลับทุกวันเหนื่อยมาก ๆ ไม่ชอบเลยบางกอก พรุ่งนี้ก็จะสอบแล้วตายแน่ ๆ แต่ละคนเชี่ยว ๆ กันทั้งนั้นและได้ข่าวว่ามีการตัด Cuve ด้วย ถ้าผ่านก็จะได้ LPIC-1 มาเชยชม ปีก่อนหน้านี้ไปเก็บ LPI101 มาแล้วครั้งนี้เลยสอบแค่ LPI102 แต่ก็ไม่ง่ายเพราะเป็นเนื้อหาที่ไม่ค่อยได้ใช้งานประจำวันเสียด้วย ไม่เหมือน LPI101 ซึ่งพอจะถูไถไปได้ LPIC ขึ้นชื่อเรื่องการถ่องเข้าห้องสอบด้วย เพราะถามซะเกือบทุก options คืนนี้อ่านสักหน่อยอุ ๆ ใครสนใจ LPI ก็ลองเข้าไปดูรายละเอียดที่ http://www.lpi.org กันได้นะครับ สุดท้ายมีรูปมาฝากกันด้วยดูได้ Gallery เลยครับ
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

กิ๊ก

ช่วงหลัง ๆ มานี้ Gnome ตัวใหม่ ๆ มันอืดขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเครื่องผมเก่าลงอย่างนั้นหรือ หรือเพราะ Gnome มันอ้วนมากไปหรือเปล่า ใช้งานไปก็เริ่มรำคาญกับความยืดยาดของมัน ก็เลยเริ่มมองหากิ๊กใหม่ แต่ก็ยังไม่ลงเอยกับตัวไหน ก็ลอง ๆ Xfce และ Enlightenment สังเกตุดูแล้วมันเบากว่าเยอะไม่ค่อยอืดทำงานลื่นขึ้น Enlightenment กินทรัพยากรเยอะเหมือนกัน แต่ก็ไม่อืดเหมือน Gnome Xfce นี่เบามากที่สุดทั้งสามตัว ทั้งนี้เครื่องใหม่ ๆ ไม่ค่อยมีปัญหานะ เพราะที่ทำงานเครื่องเก่ากว่าที่ห้อง ที่ห้องเล่น Gnome ได้ลื่นแถมเปิด 3D ด้วยก็ไม่มีปัญหา ที่ทำงาน P4 ปิด 3D ยังวิ่งไม่ค่อยไหว เปิดเครื่องใหม่ ๆ มันก็เร็วดีหรอก แต่ไอ้ที่ผมเล่นประจำคือ Firefox และ Pidgin นี่กินกระจาย ถ้าเปิด Openoffice และ Gimp มาอีกไม่ต้องพูดเลย ไม่ต้องทำอะไรละ ไม่รู้ว่า Hardware ตาม Software หรือ Software ตาม Hardware กัน กินทรัพยากรกันกระหน่ำ บ้าดีแท้…. ก็หากิ๊กกันต่อไป เพราะยังมีทางเลือกอีก.
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

ความทรงจำดี ๆ ของคนทำงาน

จริง ๆ จะเขียน Blog นี้ตั้งนานแล้วทิ้งไว้นานเป็นเดือนเชียว เหตุเกิดขึ้นที่ห้อง Lab ที่ทำงานนี่แหละกำลังนั่งทำงานอยู่ ก็มีลุงคนหนึ่งหอบของรุงรังกดกริ่งหน้าห้อง เมื่อเปิดประตูให้ก็เข้ามาหาคนช่วยดูเครื่องคอมพิวเตอร์ให้หน่อย จริง ๆ เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยสำหรับที่นี่มีคนแบกเครื่องมาให้ดูกันบ่อย ๆ แต่ที่ผมประทับใจมันมีอยู่ว่า ลุงแกเดินทางมาจากปัตตานีด้วยขบวนรถไฟ ขบวนก่อนที่จะตกรางตรงประจวบ คอมพ์เป็นเครื่อง PC ของ ICT รุ่นแรก แกห่อมาด้วยแผ่นป้ายผ้าใหญ่ ๆ ม้วน ๆ ห่อ ๆ มัดด้วยเชือกฟางบ้าง ไนล้อนบ้าง อย่างแน่นหนา นึกภาพตามกันออกไหม เสียดายผมไม่ได้ถ่ายรูปไว้เพราะมัวแต่ตกตะลึงกับเหตุการณ์อยู่ แค่ได้ยินว่า ปัตตานี บวกกับเห็นก้อนผ้ามัดเชือกก็ระทึกแล้วครับ ฮ่า ๆ มาถึงแกก็เล่าอาการให้ฟังพร้อมกับแกะห่อผ้าออก โดยให้น้องฝึกงานเป็นคนช่วย สรุปได้ว่าเป็นเครื่อง ICT รุ่นแรก ยังใช้ LinuxTLE 5.5 หน้าตายังเหมือนเดิมทุกประการ แกใช้มากี่ปีแล้วละเนี๊ยะ แกบอกว่ามันบู๊ตไม่ขึ้นช่วยดูให้หน่อย ถ้าไมได้ยังไงเดี๋ยวแกจะเอาไปโยนคลองรังสิตแล้วซื้อใหม่เสีย ฮ่า ๆ แกตลกนะครับไม่ได้จริงจัง แกบอกว่าไม่ต้องรีบแกจะทิ้งไว้สองสามวันแกจะไปเที่ยวกรุงเทพก่อน แล้วจะเข้ามารับวันหลังแกยังไม่ได้นอนเลย พวกผมก็รับปากจะดูให้ไม่ต้องเป็นห่วง แกยังเล่าต่อว่าแกโทรไปที่กระทรวง ICT มาแล้วเขาไม่รับดูให้แล้วมันหมดโครงการไปนานแล้ว แกเลยแบกมาที่นี่แหละ หลังจากน้องฝึกงานตรวจสอบก็ยังใช้งานได้ดี แต่มันช้ามากจะลงของใหม่ ๆ ให้ก็เกรงว่าจะไม่ไหวเลยลงความเห็นว่ามันปกติ รอแกมารับกลับถ้าจะให้เร็วกว่านี้ก็คงต้องหาแรมมาใส่เพิ่ม หรือซื้อเครื่องใหม่แทน ไอ้ผมละกลัวแกจะเอาไปทิ้งคลองรังสิตจริง ๆ ผ่านไปแกก็โทรเข้ามาพร้อมจะมารับเครื่อง เมื่อมาถึงน้องฝึกงานก็รายงานให้ฟังแกก็ไม่ว่าอะไร พร้อมยังคุยกันสนุกสนาน ผมแนะนำตัวว่าเป็นคนใต้เหมือนกัน แกก็ถามมาเลย “แหลงใต้ได้ไหม้” แฮะ ๆ ค่อยมีรสชาติหน่อย ผมแนะนำว่าคราวหลังไม่ต้องยกมาที่นี่ก็ได้เข้าไปที่ ม.
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

คืนชีพ

หลังจากเจอมรสุมโดนยิงกระหน่ำร่วงแล้วร่วงอีก ประกอบกับไม่ค่อยได้มีเวลามาดูแลเว็บเท่าไหร่ เพราะมัวบ้าอย่างอื่นอยู่ หลังปีใหม่ก็จัดการซะหน่อยเดี๋ยวมันจะไม่ฟื้น ปิดตายมาซะหลายวันเลย ตอนนี้ย้ายสำมะโนครัวจาก Servage มาอยู่ DreamHost เรียบร้อยจากการเปรียบเทียบหลาย ๆ เรื่อง Servage มันห่วยจริง ๆ ไม่ได้โม้ ฮ่า ๆ ผมปิดเว็บที่อยู่บน Servage ทั้งหมดเพื่อหาว่ามันยิงมาทางไหน แต่ที่ไหนได้ปิดหมดแล้วมันยังมาได้อีกไม่รู้ว่าผิดที่ใครละงานนี้แต่ที่แน่ ๆ ย้ายหนีซะ ทั้ง ๆ ที่มีเนื้อที่เป็น TB ระยะเวลาใช้ฟรีหลายปีทีเดียวไว้ค่อยคิดว่าจะใช้ประโยชน์อะไรจากมันได้บ้างเพราะถ้าเป็น php และ html ไอ้พวกชอบแทงข้างหลังมันเขียนซะเหี้ยน DreamHost มันมี Shell ให้ด้วยใช้งานถนัดหน่อย ย้ายจาก Servage ด้วย ncftpget ตามคำแนะนำของพี่กำธร สบายอุราโฮสต่างประเทศทั้งคู่วิ่งไม่ช้าเท่าไหร่ไม่ต้องพักระหว่างทางที่เครื่องตัวเองด้วย หลัก ๆ ก็มีย้ายสองตัวคือพวกที่เป็น Gallery2 และ Drupal Gallery2 Dump database ออกมา พร้อมกับ g2data สองอย่างนี้ก็เรียบร้อย update เป็นตัวใหม่หมดง่ายนิ๊ดเดียว ส่วน Drupal ก็เหมือนกัน Dump database ออกมา พร้อม directory files แล้วทำการ up เป็นตัว 6 ซะเลยหลังจากยึกยัก ๆ ไม up มาซะนานก็ลื่นดีแต่ก็มีปัญหาบ้างเล็กน้อยไม่มากนัก เช่น theme ก็ปล่อย ๆ ไว้ก่อนไว้ว่าง ๆ จะนั่งทำใหม่
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

คืนสู่ความเรียบง่าย…

เริ่มต้นเล่นลินุกซ์ใหม่ ๆ ก็เล่น KDE นะแต่หลังจากมาทำงานเกี่ยวกับลินุกซ์ก็เปลี่ยนมาใช้ Gnome แทนเพราะความรู้สึกว่า KDE มันรกรุงรังเกินความจำเป็นเมื่อเทียบกับ Gnome แล้วเรียบ ๆ ง่าย ๆ สบาย ๆ เมื่อกี๋ผ่านไป ไปเห็นข่าวหน้า Blognone ว่า KDE ออกรุ่นทดสอบมาและมีตัวจัดการไฟล์ตัวใหม่ชื่อ Dolphin เท่าที่ดูก็พบว่าหน้าเริ่มต้นจะเรียบ ๆ ต่างกับเมื่อก่อนที่ใช้ Konquerer เป็นตัวจัดการไฟล์ ทำให้นึกถึงวันวานที่ Natilus ยุคแรก ๆ เป็นสารพัดเหมือนกัน ทั้งดูเว็บ ดูภาพ ดูไฟล์ และ อีกมากมาย แต่มันก็ไม่รุ่งเพราะทำให้อืดอาด เลยโดนโล๊ะให้ทำหน้าที่ของมันให้ดีที่สุดคือจัดการไฟล์นั้นเอง หลังจากนี้ Konquerer ก็คงทำหน้าที่เป็น Web browser ของมันให้ดีที่สุด Dolphin   Nautilus
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

งานแต่งพี่หน่อย SNC

เมื่อหัวค่ำที่ผ่านมาได้ไปร่วมแสดงความยินดีในงานฉลองมงคลสมรสของพี่หน่อย กับ พี่หยิน ที่โรงแรม เอส.ดี อเวนิว ปิ่นเกล้า งานนี้เป็นงานที่เท่าไหร่แล้วไม่รู้สิที่ไปร่วม ฮ่า ๆ คงอีกนานกว่าจะถึงคิวตัวเอง ตอนออกไปจากหอก็ไปกับพี่ต้นกำธร ไปถึงที่โน้นก็เจอพี่นุ ชนกลุ่มน้อยยืนอยู่หน้างาน แล้วก็เจอคุณ cwt คุณอาทิตย์ (‘bact) เจ้าปอ คุณ DrRider คุณ veer ควงแขนน้องป้อมมาด้วย เจ้าหิน และ พี่อาคม ส่วนคนอื่น ๆ อาจจะมีอีกแต่อาจจะไม่รู้จัก เนื่องจากพี่หน่อยเป็นคนกว้างขวางแขกเลยล้นห้อง เป็นที่น่ายินดีมากครับ งวดหน้าลง สว. ได้เลยนะเนี๊ยะ งานนี้ส่งกล้องให้พี่นุ ชนกลุ่มน้อยสอยภาพให้เพราะพี่แกไม่นั่งกินกับเขา ก็ต้องเป็นตากล้องไปตามระเบียบ ใครไม่ได้ไปก็ดูรูปไปก็แล้วกัน อ้อ!! เสียดายท่าควงกระบี่ของเจ้าบ่าว พี่นุสอยมาไม่ทันเท่มาก ๆ รอให้พี่หน่อยเอามาให้ชมอีกทีก็ ชมภาพทั้งหมดที่ My’Gallery
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

จิ๊กมัน

วันนี้หลายคนคงตื่นเต้นกับการออกของ Edgy หรือ Ubuntu Linux 6.10 ผมเลยถือโอกาสบันทึกวิธีการสร้างแผ่น image ของแผ่นติดตั้งโดยใช้ Jigit คือเป็นวิธีหนึ่งของ Jigdo นั้นเองวิธีการทำงานก็คือ เรามีแผ่นติดตั้งรุ่นทดสอบอยู่แล้วและไม่อยากโหลดใหม่ทั้งหมด นั้นคือโหลดเฉพาะส่วนที่แตกต่าง ผมใช้วิธีนี้เพราะผมตามโหลดจาก daily เป็นประจำซึ่งจะเร็วกว่าโหลดทั้งแผ่นมาก แต่ถ้าเราไม่มีแผ่นก่อนหน้านี้มันก็จะ download debs ต่าง ๆ มาประกอบเป็นแผ่นให้เช่นกัน แต่ที่ผมจะเล่าตอนนี้คือวิธีที่ทำให้ jigit ดึงจาก mirror ที่เร็วที่สุดสำหรับเรา เพราะปกติมันจะไปดึงมาจากเว็บของ Ubuntu ซึ่งจะช้า ลงมือทำ จำลองเครื่องเป็นเว็บ Server + ReWrite mod เมื่อติดตั้งและ up server ได้แล้วก็ สร้าง dir ชื่อ jigit แล้วเขียน rule ให้ rewrite ดังนี้ RewriteRule ^jigit/archive/(.*)$ http://th.archive.ubuntu.com/ubuntu/$1 [P,L] สังเกตุตัวหลังตรง URL ที่ไหนเร็วก็ให้กำหนดที่นั้น ที่ lab ผม th กับ au จะเร็วพอ ๆ กันถ้า th ไม่ up ก็จะชี้ไป au แทนเมื่อได้แล้วก็ reload apache หลังจากนั้นก็เข้าไปใน dir jigit download files .jigdo กับ .template มาเช่น ubuntu-6.10-alternate-i386.jigdo และ ubuntu-6.10-alternate-i386.template จากตัวอย่างจะเป็นแผ่น alternate หรือแผ่นติดตั้งแบบ text mode นั้นเอง เมื่อได้ files ทั้งสองมาแล้วให้เราสร้าง file ชื่อว่า ubuntu-6.10-alternate-i386.conf โดยมีบรรทัดดังนี้
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

จุดเด่น จุดด้อย

โอเอสคอมพิวเตอร์ใครว่าเรื่องเล็ก… มันถึงขั้นคุยในวงสนทนากันลำบาก เหมือนศาสนา และ การเมืองเลยทีเดียว จริง ๆ ผมก็มีบ้างอาการแบบนี้ใครว่าลินุกซ์ให้ได้ยินก็อดโต้แย้งไม่ได้ มาวันนี้ก็กลายเป็นผู้ใช้งานโอเอสถึงสามตัว ทั้งลินุกซ์ วินโดวส์ และ แม็ค ก็ต่างค่ายต่างมีจุดเด่น จุดด้อยต่างกัน มันขึ้นกับการปรับตัว การเปิดใจมากกว่า ขนาดผู้ใช้ลินุกซ์ด้วยกัน ต่างดิสโทรก็ยังเถียงกันตายแล้ว ใช้มันอย่าให้มันครอบงำดีกว่านะผมว่า… ผมสังเกตุตัวเอง พบว่า ใช้วินโดวส์ ก็มองหา โอเพนซอร์สสำหรับวินโดวส์ พอมาเล่นแม็ค ก็มองหาโอเพนซอร์สสำหรับแม็คอีกละ แล้วตอนใช้ลินุกซ์ละไม่ยักกะเรียกหาแบบนี้ ฮา ๆ แต่มีบางคนนะเรียกหาโปรแกรมเถื่อนสำหรับลินุกซ์ ก็ฮากันไป “พี่ ๆ มีซีเรี่ยลของลินุกซ์ทะเลไหมครับ ผมจะติดตั้งพอดีได้แผ่นทะเลสี่ มาหลายปีแล้วเพิ่งค้นเจอ” เหอ ๆ http://www.opensourcemac.org http://bestmacsoftware.org/ http://www.opensourcewindows.org/ ใครใช้วินโดวส์ และ แม็คอยู่ก็ลองเข้าไปดูแล้วหามาใช้กันนะครับ โปรแกรมดีมีเยอะ…ไม่ต้องซื้อหาแค่เสียค่าเน็ตที่เล่นกันอยู่ทุกวันอยู่แล้วเท่านั้น ปล. พิมพ์ไทย อังกฤษบนไหนก็ไม่สุขใจเท่ากับบนลินุกซ์ อัลเทอร์เนทขวาแซ่ เร็วกว่ากันเยอะ ฮ่า ๆ
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

ชื่อ tis620 –> utf8

วันนี้เปิดอ่าน files จาก filesystem ที่เคยใช้กับ LinuxTLE 7.0 ซึ่งใช้ Locale TIS-620 เลยอ่านชื่อที่เป็นภาษาไทยไม่ออก เลยใช้คำสั่งแบบถึก ๆ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไว้ และบันทึกไว้กันลืม $ ls|while read a;do mv $a $(echo $a|iconv -ftis620 -tutf8); done version 2: $ ls|while read a;do if [ "x$a" != "x$(ec$a|iconv -ftis620 -tutf8)" ]; then mv "$a" "$(echo $a|iconv -ftis620 -tutf8)"; fi done
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที