LinuxTLE

StarDict-LEXiTRON

ตัวอย่างการแปลของ StarDict ก็ต้องขอออกตัวก่อนว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใดเพราะหลายท่านเคยเขียนวิธีการติดตั้งไว้บ้างแล้ว แต่พอดีผมเพิ่งจะทำ Package database LEXiTRON ที่ทางคุณศุภณัฐ ธัญญบุญ แห่ง TCLLab.org แปลงเป็น database ของ StarDict เจ้า StarDict ตัวนี้ก็มีหลายภาษาให้เล่นเหมือนกันแต่ที่น่าสนใจคือการตรวจจับ Clipboard แล้วทำการแปลให้ก็เหมือน ๆ กับกระดิกไทย ของคุณโด่ง(Donga)สมัยโน้น แต่ก็ทำให้น่าเล่นพอสมควรเพราะขี้เกียจเปิด Dict สำหรับผู้ใช้ลินุกซ์ทะเล 8.0 สามารถอ่านวิธีติดตั้งได้ที่ OpenTLE.Org ส่วนค่าย Ubuntu ก็ให้ลง StarDict ให้เรียบร้อยก่อนแล้วก็ Download package stardict-lexitron ไปติดตั้ง ส่วนค่ายอื่น ๆ ก็ให้ลง StarDict ให้เรียบร้อยแล้วให้ Download database จาก tcllab.org สองแฟ้มด้วยกัน คือ StarDict Lexitron English-Thai StarDict Lexitron Thai-English เมื่อได้มาแล้วก็ให้ทำการแตกเก็บไว้ที่ /usr/share/stardict/dic
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

ปุ่มมหัศจรรย์ และวันของผม

เรื่องราวการสนทนากันใน Web Board ของ OpenTLE.Org ที่แสดงความคิดเห็นกันอย่างเข้มข้นเต็มไปด้วยแง่คิดและสาระ มีทั้งคนที่เข้าใจ และ ไม่เข้าใจ เลยต้องมานั่งเขียน Blog หัวข้อแปลก ๆ แบบนี้ จริง ๆ แล้วเรื่องปุ่มสลับภาษานี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งแบบที่ใครหลายคนคาดไม่ถึง… รวมทั้งตัวผมเอง คาดไม่ถึงไม่ได้หมายถึงไม่เข้าใจความต้องการนะครับก็เข้าใจเพราะผมเองก็เคยใช้ Windows มาเหมือนกันเคยใช้ปุ่ม Grave ในการสลับภาษา เคยผ่านยุคที่ต้องเปลี่ยนมาใช้ Alt + Shift ก็มีบ้างตอนนั้นที่กดผิดกดถูก จนในที่สุดผมก็สามารถผ่านพ้นมาได้ด้วยดีจนในทุกวันนี้ปุ่มที่ใช้ในการเปลี่ยนภาษาของผมคือ Alt_R คือการกดปุ่ม Alt_R ชั่วคราวเวลาจะเปลี่ยนภาษา เพราะน้อยครั้งที่จะเปลี่ยนเป็นภาษาใด ภาษาหนึ่งนาน ๆ จนมาเมื่อไม่กี่วันนี้ได้มีคนเปิดกระทู้ขึ้นมาในเว็บบอร์ด ซึ่งจริง ๆ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถูกถามบ่อยที่สุดเรื่องหนึ่ง แต่ทุกครั้งผมก็ตอบว่า Alt + Shift และเรื่องราวก็จบไปทุกครั้งเพราะคนที่ถามเขาก็เข้าใจว่านี่ไม่ใช่ Windows นะ เหตุการณ์มีอยู่ว่า… อ่านที่นี่ และ ที่นี่ จนมีบางท่านยกให้เป็น มหากาพย์ Grave ไปซะนั้น ผมก็มานั่งคิดหาทางออกอีกรอบหลังจากที่เคยคิดมาหลายรอบว่าจะทำอย่างไรกับเหตุการณ์นี้ดี หลายคนก็คงคิดว่าก็ทำไปสิไม่เห็นมีอะไรเสียหาย หลายคนก็บอกว่าในเมื่อจะเปลี่ยนก็เริ่มต้นเสียตั้งแต่วันนี้ บ้างก็บอกค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปคนไทยก็เป็นแบบนี้ จนผมหยุดเรื่องนี้ไว้นานจนคิดว่ามันคงเข้ารูปเข้ารอย แต่เมื่อมีการจุดชะนวนความคิดขึ้นมาใหม่การเป็นทางเลือกก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าผมรณรงค์ให้ใช้ปุ่มนี้นะครับ สาเหตุที่ผมกลับมาคิดอีกรอบก็คือ ผู้ใช้ ก็คือผู้ใช้ ใช้จริง ๆ โดยไม่ได้ทำอย่างอื่นซึ่งมีจำนวนมากมายนักถ้าปุ่มปุ่มเดียวเป็นสาเหตุให้คนเข้าไม่ถึงลินุกซ์ก็น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง อย่างน้อย ๆ ก็ให้ได้เข้ามาได้ใช้งาน แล้วอะไร ๆ ก็ตามมามากมายกว่านี้ วันนี้ผมก็เลยตัดสินใจทำ patch ให้กับลินุกซ์ทะเล 8.
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

ภาษาจีน (中文) บนทะเลเจ็ด

จริง ๆ แล้วผมเขียนอ่านจีนไม่เป็นหรอกครับ แต่ก็สนใจที่จะเรียนเหมือนกันช่วงหลัง ๆ มานี้ก็ได้คุยกับเพื่อน และ น้องที่อ่านเขียนจีนได้เลยถาม ๆ และศึกษาเอาทาง Internet จำได้สองสามตัวแล้วครับแฮะ ๆ ตาลายไปหมดมันเหมือน ๆ กัน สองวันที่แล้วก็เลยมาลองติดตั้งระบบป้อนภาษาจีน (Chinese simplified) ตอนนี้ก็ input แบบ Pinyin (拼音) ได้ละผมจะใช้ iiimf สำหรับการป้อนภาษาจีนนะครับและให้สามารถพิมพ์ได้บน applications ของ Gnome เท่านั้นนะครับมาดูกันว่าเราจำเป็นต้องติดตั้งอะไรเพิ่มกันบ้าง IIIMF (Internet/Intranet Input Method Framework) – iiimf-libs เป็น library ของ iiimf – iiimf-server เป็น server สำหรับ iiimf ครับ – iiimf-le-chinput เป็น plugin สำหรับการป้อนแบบ Simplified Chinese Pinyin – iiimf-csconv เป็น modules สำหรับการแปลง codeset ต่าง – iiimf-gtk เป็น iiimf module สำหรับ gtk – iiimf-gnome-im-switcher เป็น applet สำหรับการสลับระบบป้อนข้อมูล
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 2 นาที

ยกภูเขาออกไปอีกลูก

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาพี่เทพได้แก้ไขปัญหาคาใจที่มีมานานพอสมควรนั้นคือการแสดงผลที่ผิดพลาดของ Firefox รวมไปถึง Iceweasel ที่ถูก Patch ตัดคำกับ Libthai ถ้าจำไม่ผิดปัญหานี้มีให้เห็นมาตั้งแต่ Ubuntu Dapper โชคร้ายหน่อยที่บน Debian สังเกตุเห็นได้ไม่ชัดเจนนักเลยคุยกับพี่เทพหลายรอบหน่อย แต่ด้วยพี่เทพมีงานหลายอย่างต้องทำด้วย แต่ตอนนี้พี่เทพก็ไขข้อข้องใจให้แล้วขอบคุณหลาย ๆ ครับ งานที่คนที่ใช้ libthai ในการตัดคำก็จะได้รับผลบุญไปด้วย libthai ของพี่เทพที่เป็น deb สามารถใช้ได้บน Edgy ได้เช่นกันก็ลองเอาไปใช้กันดูครับจะได้ท่องเว็บแบบสบายตา และ สบายใจกัน รูปข้อผิดพลาด : http://www.mrchoke.org/showcases/iceweasel/ Blog พี่เทพ : http://thep.blogspot.com/2007/02/iceweasel-libthai-bug.html
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

เรื่องของ Iceweasel

ช่วงนี้มาออก booth ที่งาน มหกรรมโอเพนซอร์สซอร์ฟแวร์ ภาคเหนือ ครั้งที่ 2 และได้นำทะเล 9 ตัวที่กำลังทำมาออกด้วยทำให้เจอปัญหาเกี่ยวกับ Iceweasel ที่ได้นำมาใช้แทน Firefox โดยนำมาจาก Debian เหมือนตัวทะเล 8 ปัญหาที่เกิดคือหลายเว็บจะไม่รู้จักมัน เช่น Gmail Hotmail live เป็นต้น ที่หนักไปกว่านั้นคือ เว็บ OpenTLE เองไม่สามารถเข้าไปตั้งกระทู้ หรือ แสดงความคิดเห็นได้ เพราะตัว javascript มันตรวจสอบแล้วไม่รู้จัก เพราะอะไร ? เพราะ string agent ที่ Iceweasel ส่งไปนั้นขาดคำว่า Gecko ไปนั้นเอง ผมลองใช้ Add-on ตัวที่ชื่อว่า User Agent Switcher มาลงแล้วก็ตั้ง Agent ใหม่ขึ้นมาแล้วใส่คำว่า Gecko ตรวจสอบดูก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ ตัวอย่าง Mozilla/5.0 (X11; U; Linux i686; en-US; rv:1.8.1.11) Gecko/2007100620
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

หมุนจอเล่น

วันก่อนแอบจิ๊กจอกว้างมาเล่น ก็เลยทำให้รู้ว่าจริง ๆ แล้วมันไม่ค่อยเหมาะกับหน้าจอสำหรับทำงานเท่าไหร่เพราะมันสั้นไปถึงจะได้ความกว้างก็ตาม เลยอยากหมุนเล่นแต่บังเอิญใช้ Nvidia Click ขวา Set Resolution ก็ไม่ได้เลยค้น ๆ ดูทำให้รู้ว่า Nvidia มันปิดความสามารถของ RandR ไว้ต้องใส่ option ให้ดังนี้ Section "Device" Identifier "NVIDIA Corporation NV11 [GeForce2 MX/MX 400]" Driver "nvidia" Option "RandRRotation" "True" EndSection Save แล้วก็เข้า X ใหม่ก็หมุนจอเล่นได้แล้ว
Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 1 นาที