Thailand ICT Contest Festival 2007

Mon 1 Jan 0001
ใช้เวลาอ่าน 8 นาที

จบลงไปอีกงานสำหรับ งาน Thailand ICT Contest Festival 2007 ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีปีนี้จัดกันที่ แฟร์ชันไอส์แลนด์ ซึ่งได้รับเสียงบ่นมาบ้างว่าไกล ทำให้คนเข้าดูน้อยอีกทั้งยังจัดกลางสัปดาห์อีกด้วย ส่วนผมหน้าที่รับผิดชอบหลักก็ส่วนของ NLC คือการแข่งขันลินุกซ์ และ ส่วนหนึ่งของ NSC ประเภท โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ และ Open Source Application Extension ซึ่งมีบางกลุ่มที่มีโอกาสได้ติดตามพัฒนาการตั้งแต่เริ่มเขียนโรงการ จนออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ยอมรับว่าปีนี้การแข่งขันของสองหัวข้อนี้ไม่เข้มข้นนักเพราะน้อง ๆ ยังไม่กล้าเข้ามาสักเท่าไร หรือกรรมการโหดเกินไปหรือเปล่า ฮ่า ๆ เพราะลินุกซ์นี่เข้ามาแค่สองภาคคือ กลาง กับ ใต้เท่านั้น ปีหน้าถ้ามีโอกาสก็อยากไปดูของภาคอื่น ๆ บ้าง และหวังว่าจะมีโครงการเพิ่มขึ้นจากปีนี้จะได้เข้มข้น และ สนุกกว่านี้

ส่วน NLC ครั้งนี้ก็ครั้งที่ 7 แล้วรูปแบบการแข่งขันเปลี่ยนไปมากจากทุก ๆ ครั้งทำให้หลายทีมต้องพลาดโอกาสไปเพราะเก็งข้อสอบผิด เพราะทุก ๆ ปีจะเป็นการนั่งทำภาระกิจที่มอบหมายให้เป็นส่วน ๆ จนกว่าจะเสร็จ แต่ปีนี้ใช้การทดสอบ ทั้งความเร็ว และ ความแม่นยำ มีเวลาเข้ามาเป็นตัวกำหนด และต้องแม่นในคำตอบ ซึ่งคำถามจะหลากหลาย แต่ก็จะเน้นในส่วนของ ลินุกซ์ทะเล และ ลินุกซ์ซิสเป็นส่วนใหญ่ และการเปลี่ยนรูปแบบก็มีเหตุผลหลายอย่าง ซึ่งทางทีมงานก็อยากจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จะได้มีหลากหลาย แต่ก็มีเสียงบ่นมาเยอะพอสมควรว่าติวมาเหมือนปีที่แล้วแต่กลับมาแข่งอีกแบบ อันนี้ก็เข้าใจนะครับแต่ทางออกที่ดีคือการสอนเด็กให้รู้จริง ไม่ใช่ท่องจำ หรือรู้แค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ถและ เพิ่มความรู้รอบตัวเข้าไปอีกนิดก็จะไม่กลัวว่าจะเจอกับการแข่งขันรูปแบบไหน เก่ง และ ต้องฉับไว แม่นยำ มีการวาแผนที่ดี ก็เสียดายน้อง ๆ หลฃายคนที่ทำได้นะแต่บางครั้งไม่กล้าที่จะตอบเพราะกลัวเสียคะแนน แต่ก็มีหลายคนที่กล้าได้กล้าเสีย และได้รางวัลด้วย

ผลการประกวดมีดังนี้

 

ประกาศผลแชมป์งาน  Thailand ICT Contest Festival 2007 

งานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6 (Thailand ICT
Contest Festival 2007) ซึ่งจัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(เนคเทค/สวทช.) ปิดลงอย่างสง่างาม โดยมี ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช
ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี ณ ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์
ถนนรามอินทรา

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค/สวทช.)
เปิดเผยว่า มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6
(Thailand ICT Contest Festival 2007)
ในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เยาวชนเป็นนักพัฒนาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร
ได้มีโอกาสในการฝึกสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมแข่งขันและทำงานเป็นทีม
พร้อมทั้งสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและศักยภาพเทียบเท่ากับนานาประเทศ
อีกทั้งยังส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนของประเทศไทยในภาพรวม

สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม
ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันในประเภทย่อย ๆ จำนวน 19 ประเภท
โดยมีรางวัลสำคัญที่เป็นถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ จำนวน 8 รางวัล
รวมจำนวนรางวัลทั้งหมด 97 รางวัล คิดเป็นเงินรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท
โดยการเปิดรับสมัครผลงาน และการจัดค่ายทั่วประเทศตลอดปีที่ผ่านมา มีผลงานของนักเรียน
นิสิต นักศึกษา สมัครเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 1,494 ผลงาน คิดเป็นผู้ร่วมโครงการกว่า
5,000 คน จากสถาบันการศึกษา 300 แห่ง และมีผลงานที่ผ่านเข้าชิงชนะเลิศ จำนวน 281 ผลงาน
คิดเป็นจำนวนผู้เข้าแข่งขัน 598 คน จากสถาบันการศึกษา 176 โดยมีรายละเอียดดังนี้

- การแข่งขันการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 (NSC) ในระดับนักเรียน
และนักศึกษา คณะกรรมการได้คัดเลือกเข้าแข่งขันรอบสุดท้ายจำนวน 131 โครงการ
การตัดสินแยกเป็นทั้งหมด 12 ประเภท ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี โดยแต่ละประเภทจะมีรางวัลชนะเลิศลำดับที่ 1, 2, 3 และรางวัลชมเชยอีก 2
รางวัล รวมเป็นรางวัลทั้งสิ้น 62 รางวัล

- การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์
(YSC.CS & YSC.EN) เพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขัน Intel Internation
Science and Engineering Fair ครั้งที่ 58 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
คณะกรรมการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายทั้งสิ้น 22 โครงการ รางวัลมีทั้งสิ้น 3 รางวัล
คือรางวัลที่ 1, 2 และ 3 ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภททีม 1 โครงการ และประเภทบุคคล
2 จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเดินทางไปร่วมประกวดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

-การแข่งขันประกวดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นการแข่งขันประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยนักเรียนจากค่ายอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์จากทั่วประเทศ
จำนวน 1,046 คน ผ่านที่เข้ารอบสุดท้ายทั้งสิ้น 80 คน รางวัลที่ 1, 2, 3 และรางวัลชมเชย
2 รางวัล รวมทั้งสิ้น 5 รางวัล และสถาบันการศึกษาที่มี นักเรียนได้รับรางวัลที่ 1, 2, 3
จะได้รับโล่รางวัลเกียรติยศ

- การแข่งขันติดตั้งระบบปฏิบัติการลินกุซ์ มีผู้สมัครเข้าแข่งขันรอบสุดท้ายทั้งสิ้น
1,583 คน มีผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศทั้งสิ้น 204 คน ชิงรางวัลจำนวน 5 รางวัล คือ
รางวัลที่ 1, 2, 3 และรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล

การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Competition 2007)

ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงจาก 3 ประเภทคือประเภทวิทยาการคอมพิวเตอร์ ประเภทวิศวกรรม
และประเภททีม เปิดรับงานวิทยาศาสตร์รวม 8 สาขา
การตัดสินก็เพิ่มความยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นเพื่อเฟ้นผู้แทนเยาวชนไทย
เพื่อไปแข่งขันในงาน Intel ISEF ครั้งที่ 58 ผู้ชนะเลิศประเภทบุคคล 2 รางวัล
และทีมชนะเลิศอีก 1 รางวัล
รางวัลที่ 1 ทุนการศึกษา 50,000 บาท พร้อมโล่รางวัลเกียรติยศ
และจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันงาน Intel ISEF ครั้งที่ 58 ณ
เมืองอัลบูเคอคี มลรัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม
2550 โดยได้รับการสนับสนุนรางวัลโดย บริษัท อินเทลไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)
จำกัด
รางวัลที่ 2 ทุนการศึกษา 40,000 บาท และโล่รางวัลเกียรติยศ
รางวัลที่ 3 ทุนการศึกษา 30,000 บาท และโล่รางวัลเกียรติยศ

ผลการแข่งขันโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แข่งขันประเภทบุคคล
มีโครงการที่ผ่านเข้ารอบรวม 10 โครงการ
รางวัลที่ 1 - โครงการการพัฒนาเครื่องบินบังคับเล็กเพื่อใช้ในการสำรวจทางอากาศ
ผู้พัฒนา นายวงศกร ลิ้มศิริ อาจารย์ที่ปรึกษา นางอรวรรณ รัมพณีนิล
โรงเรียนสิรินธร

- โครงการการตรวจสอบผู้ใช้ด้วยรหัสผ่านและข้อมูลรูปแบบการพิมพ์ ภาค ๒
ผู้พัฒนา นายพีรเดช บางเจริญทรัพย์ อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวอุบล ดวงสุด
โรงเรียนบูรณะรำลึก

รางวัลที่ 2 - โครงการหุ่นยนต์สมดุลด้วยทรงกลม
ผู้พัฒนา นายอาณัฒน์ จะระคร อาจารย์ที่ปรึกษา นายอดิศร จะระคร
โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย

- โครงการการรักษาความปลอดภัยข้อมูลด้วยวิธีการแบ่งแยกและโยกย้ายข้อมูล
ผู้พัฒนา นายทรงพล ตีระกนก อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวอุบล ดวงสุด
โรงเรียนบูรณะรำลึก

รางวัลที่ 3 - โครงการเครื่องดูดเก็บน้ำยาง
ผู้พัฒนา นายประกาศิต ล่องโลด อาจารย์ที่ปรึกษา นายเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

- โครงการ
การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อลักษณะภายนอกและโปรตีนของสาหร่ายเซลล์เดียวในขี้แดดนาเกลือ

ผู้พัฒนา นายภัทรพงษ์ พลเสน อาจารย์ที่ปรึกษา นายกิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา
โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย



ผลการแข่งขันโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ประเภททีม มีโครงการผ่านเข้ารอบสุดท้าย
จำนวน 12 โครงการ

รางวัลที่ 1 - โครงการหุ่นยนต์เก็บตัวอย่างน้ำ
ผู้พัฒนา นายนนทชัย สุรตริยานนท์ นางสาวศรีวรรณ พจน์ทวีเกียรติ
นางสาวปิติพร ปิติ
อาจารย์ที่ปรึกษา นายสุนทร เรืองภักดี
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัด จันทบุรี
รางวัลที่ 2 - โครงการการใช้สมุนไพรตรวจสอบหาสารเคมี
กำจัดศัตรูพืชที่เป็นพิษตกค้างในผักและผลไม้
ผู้พัฒนา นางสาวกุลสิริ ยศเสถียร นางสาวกนกวรรณ สมชาติ
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสมหวัง ยศเสถียร
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
รางวัลที่ 3 - โครงการเครื่องย้อมสีฝ้ายอัตโนมัติ
ผู้พัฒนา เด็กชายกันตภณ วิบูลย์ศักดิ์สกุล เด็กหญิงชาพิกา
พิทาคำ เด็กหญิงอธิศสุดา พิทักษ์
อาจารย์ที่ปรึกษา นางขัติยา จันสังสา
โรงเรียน ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่


การแข่งขันโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 (The Ninth National Software
Contest: NSC 2007) 12 ประเภท

รางวัลที่ 1 ถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สำหรับการแข่งขันระดับนิสิต นักศึกษาและ ระดับนักเรียน (ยกเว้นหัวข้อพิเศษ Web Services
Contest: Innovation for Web Services, Mobile Application, Open Source Application
Extension และสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์กลุ่มครู อาจารย์) ทุนการศึกษา
60,000 บาท และโล่รางวัลเกียรติยศ
รางวัลที่ 2 ทุนการศึกษา 40,000 บาท และโล่รางวัลเกียรติยศ
รางวัลที่ 3 ทุนการศึกษา 20,000 บาท และโล่รางวัลเกียรติยศ
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ทุนการศึกษารางวัลละ 10,000 บาท

นอกจากนี้สถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนา
โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ภาษาไทยสำหรับคนตาบอด มูลนิธิราชสุดา ได้เพิ่มรางวัลพิเศษสำหรับโปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ
8 รางวัล15,000 บาท 2 รางวัล และ 10,000 บาท 6 รางวัล

ผลการแข่งขันการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 แบ่งออกเป็น4
ประเภท คือ
ระดับครู อาจารย์
หัวข้อพิเศษ
ระดับนักเรียนและ
ระดับนิสิต นักศึกษา

ระดับครู อาจารย์ สื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ มีโครงการที่ผ่านเข้ารอบ 6
โครงการ ในประเภทนี้ไม่มีโครงการใดสมควรได้รับรางวัลที่ 1

รางวัลที่ 2 - โครงการเรียนสนุกกับไฟฟ้าเคมีออนไลน์
ผู้พัฒนา นางรุ่งกานต์ วังบุญ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
รางวัลที่ 3 - โครงการการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องฮอร์โมน
ผู้พัฒนา นางวิไลวรรณ ขันธวัฒน์ โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
จังหวัดร้อยเอ็ด
รางวัลชมเชย - โครงการมนุษย์และพืช
ผู้พัฒนา นายกฤษดา จันทร์ตา โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่

ประเภทหัวข้อพิเศษ แบ่งเป็น 3 หัวข้อ
Open Source Application Extension มีโครงการที่ผ่านเข้ารอบ 5 โครงการ
รางวัลที่ 1 - โครงการ OpenOffice writer สั่งงานด้วยเสียง
ผู้พัฒนา นายวศิน เที่ยงคุณากฤต นางสาววรินทร์พร ภัสสรภากร
อาจารย์ที่ปรึกษา นางทศพร กมลภิวงศ์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

รางวัลที่ 2 - โครงการโปรแกรมประยุกต์สำหรับโครงสร้าง พื้นฐานกุญแจสาธารณะและชีวมาตร
ผู้พัฒนา นายวิภาส สุตันตยาวลี นายวิวัฒน์ คงศิริวัฒนกุล
อาจารย์ที่ปรึกษา นายอัครเดช วัชระภูพงษ์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รางวัลที่ 3 - โครงการเว็บเมล์แบบปลอดภัยพร้อมภาษาไทย เต็มรูปแบบ
ผู้พัฒนา นางสาววิไลลักษณ์ กาประสิทธิ์ นายวีระพจน์ ทมานนท์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายสมนึก พ่วงพรพิทักษ์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
รางวัลชมเชย (มี 1 รางวัล)
- โครงการโปรแกรมคัดกรองข้อมูลเว็บ
ผู้พัฒนา นายพฤกษ์ ธนานุสนธิ์ นายวรวิทย์ ลีลาประเสริฐวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายธนัญชัย ตรีภาค
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Mobile Application มีโครงการที่ผ่านเข้ารอบ 13 โครงการ
รางวัลที่ 1 -
โครงการชุดโปรแกรมสื่อสารที่ล่วงรู้สถานะการมีอยู่ของผู้ใช้สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท
Pocket PC
ผู้พัฒนา นายธีรเดช หงส์พิสุทธิกุล นายรภรัตน์ สุขาภิรมย
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวทวิตีย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 - โครงการระบบปฎิสัมพันธ์ผ่านบลูทูธ และการประยุกต์ใช้งานในห้องเรียน
ผู้พัฒนา นายกุลชาติ ฟักสุวรรณ
อาจารย์ที่ปรึกษา นายชัยพร ใจแก้ว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลที่ 3 - โครงการโปรแกรมค้นหาและแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
ผู้พัฒนา นายชยากร ป้องศิริ อาจารย์ที่ปรึกษา นายอภิชาติ หีดนาคราม
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่
โครงการระบบมัคคุเทศก์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายไร้สายสำหรับผู้เยี่ยมชมวิทยาเขต
ผู้พัฒนา นายวทัญญู แย้มสุคนธ์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายชัยพร ใจแก้ว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โครงการโปรแกรมแนะนำผู้เล่นกอล์ฟ
ผู้พัฒนา นางสาวนุชนาถ สัตย์วินิจ
นายวินัย กุลทยาวัฒน์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายชัยพร เขมะภาตะพันธ์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

หัวข้อพิเศษประเภทสุดท้าย Web Services Contest: Innovation for Web Services
มีโครงการที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จำนวน 12 โครงการ
รางวัลที่ 1 - โครงการเปิดพิภพเมืองสยาม
ผู้พัฒนา นายปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ นายปฐมพล แสงอุไรพร
อาจารย์ที่ปรึกษา นายจิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รางวัลที่ 2 - โครงการบริการสภาพข้อมูลจราจรในกรุงเทพฯ
ผู้พัฒนา นางสาวมาลิดา พลชัยวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายเอกวิชญ์ นันทจีวรวัฒน์
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลที่ 3 - โครงการWeb Service for Integrated Logistics
ผู้พัฒนา นายนพรัตน์ ลีลาวณิชย์ นายนนท์ เก้านพรัตน์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายเศรษฐา ปานงาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รางวัลชมเชย มี 2 รางวัล
โครงการเว็บเซอร์วิส รายงาน ความชื้นในอากาศ
ปริมาณน้ำฝนและระดับในน้ำแม่ปิงที่ไหลผ่านในจังหวัดเชียงใหม่
ผู้พัฒนา นางสาวนฤดี จิยะวรนันท์ นายอดุลย์ นุพงศ์ นายเกริก
พุกกะรัตน์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายบุญฤทธิ์ คิดหงัน
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่
โครงการ พิธีการศุลกากรอัตโนมัติด้วย GS1-128
ผู้พัฒนา นายนรกิตติ์ ศรีสัมฤทธิ์ นายสุวิช ไชยวัฒน์มาลากูล นายศรัญยู เหลืองไพศาล
อาจารย์ที่ปรึกษา นายเผ่าภัค ศิริสุข
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

กลุ่มนักเรียน 3 ประเภทได้แก่
โปรแกรมเพื่อความบันเทิง มีโครงการเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 9 โครงการ

รางวัลที่ 2 -โครงการฝ่าวิกฤตพิชิตเกาะ
ผู้พัฒนา นายเกียรติศักดิ์ บุญมณี นายอุฐาการ บุญเลิศ นายสุขสันต์ สุวรรณกาญจน์
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสุธิดา อุไรวงศ์
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จังหวัดสงขลา
รางวัลที่ 3 - โครงการอยุธยา
ผู้พัฒนา นายศิขริน ชลประทิน นายวิษณุ จุลมุสิ นายวรภัทร น้ำมะลิวรรณ
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวโศภิษฐ์ สวนปลิก
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร

รางวัลชมเชย 2 รางวัล
โครงการศึกสมรภูมิ
ผู้พัฒนา นายธนานนท์ ปฏิญญาศักดิกุล นายภัทรวุฒิ
มาลีหวล นายพรสิงห์ นิลผาย
อาจารย์ที่ปรึกษา นางอัจฉรา อมะรักษ์
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา
โครงการ Ban by your hands
ผู้พัฒนา นายชวลิต ยงยุทธอำไพ นายกฤตเมธ จตุระบุล นายพัฒนา
เฉลิมธนศักดิ์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายจิรเดช เกษหอมเลิศ
โรงเรียนไทยบริหารธุรกิจและพณิชยการ

โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ มีโครงการผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 18 โครงการ
ในประเภทนี้ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัลที่ 1 แต่มีรางวัลชมเชย 3 รางวัล และรางวัลที่ 2
จำนวน 2 รางวัล

รางวัลที่ 2 (2 รางวัล)
- โครงการสมองของฉัน
ผู้พัฒนา นางสาวมณีนุช จันตา นางสาวธนพร สิทธิยศ นางสาวลักษดนัย
สุวรรณไพโรจน์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายไพรรุ่ง งามสมพรพงศ์
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการสนุกกับตรรกศาสตร์
ผู้พัฒนา นางสาววรรณรวัส ยินดีเดช เด็กหญิงชนิดา
พันธกิจเจริญกุล นางสาวฉัตราภรณ์ เพชรดีมณีงาม
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวศรา หรูจิตตวิวัฒน์
โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ คอนแวนต์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

รางวัลที่ 3
- โครงการเรียนรู้เรื่องคลื่นผ่านเว็บไซต์
ผู้พัฒนานายณภัทร หทัยวิเชียร นายสิรวิชญ์ ภู่ตระกูล นายณัชชา
อรุณฉาย
อาจารย์ที่ปรึกษา นายวิเชียร ดอนแรม
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี จังหวัดชลบุรี

รางวัลชมเชย 2 รางวัล(3 รางวัล)
โครงการสานเสียง ประสาท หรรษา
ผู้พัฒนา นางสาวสุพัตรา หมั่นแสวง นางสาวขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นางสาวสุภาวิดา
ชัยวิศิษฎ์
อาจารย์ที่ปรึกษา นางรุ่งกานต์ วังบุญ
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
โครงการอัศวินน้อยนักคำนวณ
ผู้พัฒนา นายจิโรจ ธีระนันท์ นายภควัต ลิ้มสิริวัฒนกุล นายเกียรติชัย ปฐมเจริญสุขชัย
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวนฤมล ปานล้ำเลิศ
โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย จังหวัดราชบุรี
โครงการเคลื่อนให้ไกล ไวด้วยแรง
ผู้พัฒนา นายอรรถวัฒน์ พานิช เด็กชายฐิติภัทร์ อ่าวสถาพร
อาจารย์ที่ปรึกษา นายทศพล ศิลลา
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

ประเภทสุดท้ายของโครงการระดับนักเรียน
โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน มีโครงการที่เข้ารอบสุดท้ายจำนวน 14 โครงการ
รางวัลที่ 2 - โครงการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยระบบ Digital
ผู้พัฒนา นายเศรษฐโชค แสนนาม นายสุรัตน์ จันทร์รุ่งโรจน์
อาจารย์ที่ปรึกษา นางปริญญ์ทิพย์ แสนใจ
โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
รางวัลที่ 3 - โครงการโปรแกรมวิเคราะห์เสียงเครื่องดนตรี
ผู้พัฒนา นายบุญญฤทธิ์ สมเรียววงศ์กุล
อาจารย์ที่ปรึกษา นายบุญนที ศักดิ์บุญญารัตน์
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวดนครปฐม

รางวัลชมเชย 2 รางวัล
โครงการโปรแกรมแปลและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาล้านนา
ผู้พัฒนา นายเสฐียรพงษ์ ชัยมณี นายกษิดิ์เดช
ปัญญามณี นางสาวมนสิชา บัวภิบาล
อาจารย์ที่ปรึกษา นางพรรณภา พงษ์ไพฑูรย์
โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง
โครงการผู้จัดการร้านอาหาร
ผู้พัฒนา เด็กชายภูริภพ ศรีมา เด็กชายคมกฤษ ภูริสัตย์
อาจารย์ที่ปรึกษา นางศิรพัฒน์ แก่นจันทร์
โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

สำหรับรางวัลชนะเลิศ ของระดับนักเรียนซึ่งนอกจากเงินทุนการศึกษารางวัลละ 60,000 บาท
พร้อมโล่ ยังจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในวันที่ 28 มีนาคม 2550 ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.ตามประเภทต่าง ๆ

ประเภทโปรแกรมเพื่อความบันเทิง ได้แก่
- โครงการสมรภูมิลูกหิน
ผู้พัฒนา นายอนลัส พวงไสว เด็กชายอภิวัฒน์ ดีศิริ นายภูเบศร์ บางท่าไม้
อาจารย์ที่ปรึกษา นายนัฐพล ทวีทรัพย์
โรงเรียนเทศบาลวัดตึกมหาชยาราม (สมุทรคุณากร) จังหวัดสมุทรสาคร

ประเภทโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
(ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล)


ประเภทโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน ได้แก่
- โครงการทันใจ ไม่ต้องพิมพ์
ผู้พัฒนา นายณัฎฐ์ ปิยะปราโมทย์
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวนฤมล ปานล้ำเลิศ
โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย จังหวัดราชบุรี

กลุ่มนิสิต นักศึกษามีด้วยกัน 5 ประเภทได้แก่

โปรแกรมเพื่อความบันเทิง มีโครงการที่เข้ารอบสุดท้าย 11
โครงการในหัวข้อนี้ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัลที่ 1
รางวัลที่ 1 (ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล)

รางวัลที่ 2 - โครงการเกมนีโอไฟทติ้ง
ผู้พัฒนา นายพรศักดิ์ ติ๊บยะกาศ
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวศันสนีย์ เอื้อพันธ์วิริยะกุล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลที่ 3 - โครงการ การพัฒนาเกมส์เควสมาสเตอร์ออนไลน์
ผู้พัฒนา นายนฤพนธ์ ปิ่นแก้ว นายรัฐศักดิ์ ปิ่นแก้ว
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวสิริสุดา บัวทองเกื้อ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่

โครงการ Rescission Duty
ผู้พัฒนา นายจิรศักดิ์ รักษาชุม นางสาวสุนิสา จุลรัตน์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายสุธน แซ่ว่อง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
โครงการ พระสุธน มโนราห์
ผู้พัฒนา นายโกวิท ลีลา
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวทิพาภรณ์ ประดู่
วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ

โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โครงการที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 10โครงการ
รางวัลที่ 2 - โครงการ โปรแกรมการทดลองทางฟิสิกส์ เสมือนจริง-การทดลองบนรางลม
ผู้พัฒนา นายทวีนันท์ เชี่ยวชาญชำนาญกิจ
อาจารย์ที่ปรึกษา นายปิยพงษ์ สิทธิคง
มหาวิทยาลัยมหิดล
รางวัลที่ 3 - โครงการสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ
ฟิสิกส์ไฟฟ้าและการทดลองเสมือนจริง
ผู้พัฒนา นายไกรสร สืบบุญ นายวุฒิภัทร พงษ์เพชร
นายชาญวิทย์ แสงสุทธิ
อาจารย์ที่ปรึกษา นายปัญญาพล หอระตะ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รางวัลชมเชย (พิเศษ 3 รางวัล)
โครงการการพัฒนาเกมพัซเซิลสองมิติเพื่อการเรียนรู้ทักษะวิชาคณิตศาสตร์
ผู้พัฒนา นางสาวเมธินี ไชยวรวิทย์สกุล นางสาวชลิตา สมบุญเรืองศรี
อาจารย์ที่ปรึกษา นายวิษณุ โคตรจรัส
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการโปรแกรมการเรียนรู้จราจรเสมือนจริง
ผู้พัฒนา นายอธิเมธ วรรณจักร์ นางสาวพรวิไล ศรีวิชา นายณัฐพงศ์ จิตรจักร
อาจารย์ที่ปรึกษา นายศิวดล ไชยศิริ
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
โครงการสวนคณิตศาสตร์ของนายแครอท
ผู้พัฒนา นายปฎิพัทธ์ สุวรรณลี นายณัฐพล เพชรจิระวรพงศ์ นายชวลิต
แซ่ลิ่ม
อาจารย์ที่ปรึกษา นายณัฐพร ประชาเสรี
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ มีโครงการที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย10โครงการ
รางวัลที่ 2 - โครงการพิมพ์สนุก
ผู้พัฒนา นายธงชัย พรมโลกา
อาจารย์ที่ปรึกษา นางบุษราภรณ์ มหัทธนชัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ได้รับรางวัลพิเศษจากสถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนา
โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ภาษาไทยสำหรับคนตาบอด มูลนิธิราชสุดาเป็นจำนวน 15,000 บาท

รางวัลที่ 3 - โครงการเกมอัศวินสายฟ้ากับเทพธิดาสุภาษิต(สำหรับผู้พิการทางสายตา)
ผู้พัฒนา นายสุดเขต เต็งแย้ม นางสาวอนันดา
ภู่ระหงษ์ นายวีรชาติ ดำทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา นายปาน สุระ
โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก(อี-เทค) จังหวัดชลบุรี
ได้รับรางวัลพิเศษจากสถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนา
โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ภาษาไทยสำหรับคนตาบอด มูลนิธิราชสุดา เป็นจำนวน 10,000 บาท


รางวัลชมเชยรางวัลที่ 1 -โครงการ มองแล้วกระพริบ
ผู้พัฒนา นายวรรษิษฐ์ ศิริลักษณ์
อาจารย์ที่ปรึกษานางทศพร กมลภิวงศ์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รางวัลชมเชยรางวัลที่ 2 -โครงการโปรแกรมแปลงอักษรเบรลล์สำหรับผู้ พิการทางสายตา
ผู้พัฒนา นายธนาธิป ลิ่มนา นางสาวชมพูนุท แซ่ตั้ง นายพงศ์กานต์ กาลสงค์
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวพิชญา ตัณฑัยย์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
และได้รับรางวัลพิเศษจากสถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนา
โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ภาษาไทยสำหรับคนตาบอด มูลนิธิราชสุดา เป็นจำนวน 15,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ได้รับรางวัลพิเศษจากสถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนา
โดยกองทุนเพื่อการพัฒนา
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ภาษาไทยสำหรับคนตาบอด มูลนิธิราช สุดาเป็นจำนวน 10,000 บาท รวม
3 โครงการ

โครงการ โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทยสำหรับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ผู้พัฒนา นางสาวสุพรรษา จิตระโภชน์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายกฤษณะ ชินสาร
มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
โครงการ โปรแกรมอ่าน RSS Feed ให้กับผู้พิการทางสายตา
ผู้พัฒนา นายอัฑฒ์ ณ นคร นายปองภพ เหล่าชัยกุล นางสาวอัฐภรณ์ ผ่านสำแดง
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวกานดา รุณนะพงศา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โครงการโปรแกรมแปลงโน้ตดนตรีสากลให้เป็นอักษรเบรลล์โน้ตดนตรีตามมาตรฐาน XML
ผู้พัฒนา นางสาวอภิษฎา อินทสระ นางสาวลดาวัลย์ มีพันแสน
นางสาวดาริกา มณีฉาย
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวพิชญา ตัณฑัยย์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มีโครงการที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 18 โครงการ
รางวัลที่ 2 -โครงการ WBC Soft: เครื่องมือวินิจฉัยโรคด้วยอัลกอริทึมการนับเม็ดเลือดขาว
ผู้พัฒนา นายชวิน นิจพานิชย์ นายณัชพล ฟูตระกูล
อาจารย์ที่ปรึกษา นายพิษณุ คนองชัยยศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 3 - โครงการการค้นหาเพลงโดยการร้องทำนอง
ผู้พัฒนา นายพงศกร ธีรภาพวงศ์ นายไวยณ์วุฒิ เอื้อจงประสิทธ์
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวโชติรัตน์ รัตนามหัทธนะ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลชมเชย 2 รางวัล
- โครงการ ระบบตรวจสอบลายเซ็น
ผู้พัฒนา นายสมชาย นวลประเสริฐ นายพรพล ตั้งสกุล นายอรัญย์ ชนะนา
อาจารย์ที่ปรึกษา นายอานุภาพ มีสมบูรณ์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

-
โครงการโปรแกรมจำลองอาคารและแสดงผลการวิเคราะห์จากกล้องวงจรปิดเพื่อประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบความหนาแน่นของประชากรในอาคาร
และการตรวจสอบพื้นที่จอดรถ ในรูปแบบสามมิติ
ผู้พัฒนา นางสาวสุพรรษา รุ่งโรจน์สกุลพร นางสาวอรณี โกมลเกษรักษ์ นายวิชัย สุนทรสุข
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวฐิติวรรณ ศรีนาค
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประเภทสุดท้ายของกลุ่มนิสิต นักศึกษา
โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ มีโครงการที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายรวม 5
รางวัลที่ 1 -โครงการชุดโปรแกรมตอบสนองเมื่อเกิดการ ละเมิดความปลอดภัย
ผู้พัฒนา นายอธิศ วรสวาสดิ์ นายภูมินทร์
ตัณฑสถิตยานนท์ นายปริวัตร ผ่องเภสัช
อาจารย์ที่ปรึกษา นายอัครเดช วัชระภูพงษ์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รางวัลที่ 2 - โครงการ Linux Home Media Center
ผู้พัฒนา นางสาวภาวิณี ซุ่ยล่อย นายศุภพสุ ภัทรปกรณ์ นายชนัส อัถโถปกรณ์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายธัชชัย เอ้งฉ้วน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

รางวัลชมเชย (มีเพียงรางวัลเดียว)
โครงการระบบตรวจข้อสอบวิชาการเขียนโปรแกรม
ผู้พัฒนา นายณัฐนัย วงศ์วัฒนะ นางสาวคนึงนิจ ชิดสูงเนิน
อาจารย์ที่ปรึกษา อ.สุรีรัตน์ อินทร์หม้อ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี



สำหรับรางวัลชนะเลิศ ของระดับนิสิต นักศึกษา ซึ่งนอกจากเงินทุนการศึกษารางวัลละ 60,000
บาท พร้อมโล่ ยังจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในวันที่ 28 มีนาคม 2550 ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ตามประเภทต่าง ๆ ดังนี้

ประเภทโปรแกรมเพื่อความบันเทิง
(ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล)

ประเภทโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
โครงการชมรมคนรักหุ่นยนต์
ผู้พัฒนา นายเนนิน อนันต์บัญชาชัย
อาจารย์ที่ปรึกษา นายจิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล
มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์

ประเภท โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ
โครงการโปรแกรมแปลงโน้ตดนตรีสากลให้เป็นอักษรเบรลล์โน้ตดนตรีตามมาตรฐาน XML
ผู้พัฒนา นางสาวอภิษฎา อินทสระ นางสาวลดาวัลย์ มีพันแสน
นางสาวดาริกา มณีฉาย
อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวพิชญา ตัณฑัยย์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ประเภทโปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงการ การนับสิ่งของที่มีรูปร่างไม่คงที่และมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
ผู้พัฒนา นายชัยชนะ นิลวัชรารัง
อาจารย์ที่ปรึกษา นายอรรถวิทย์ สุดแสง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเภทโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์
โครงการ กล่องแผ่นป้าย RFID ที่มีความ
สามารถในการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย
ผู้พัฒนา นายธิติ พิพัฒน์ธนวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา นายอนันต์ ผลเพิ่ม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์